วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558




สมาชิกในกลุ่ม




นางสาว  พิมพิกา  พรมร้อยโท
ชั้นม6/1  เลขที่13
ชื่อเล่นแจน





นางสาว นิรมล  นพคุณ
ชั้นม.6/1 เลขที่9
ชื่อเล่นป๋องแป้ง




                                                           นางสาว ศิวัชญา  ศรีสุวรรณ
                                                               
                                                                 ชั้น.6/1  เลขที่32

                                                                    ชื่อเล่น เฟริน




                                                               นางสาว เจนจิรา  กองคำ
                                                                     ชั้นม.6/1 เลขที่3
                                                                          ชื่อเล่นมุ้ย
                                                      ชื่อ นางสาว ทวิปิญา โคมทอง
                                                               ชั้นม.6/1  เลขที่6
                                                                  ชื่อเล่นนิคกี้





คุณสมบัติ

ารแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะHTML ซึ่งจะไม่แสดงคำสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์ สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์สามารถอ่าน ดูและคัดลอกคำสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลักของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการคำสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะCGI คุณสมบัติอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดคำสั่ง (command line scripting) ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ทำงานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้
การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถทำงานร่วมกับคำสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการทำงานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพื่อแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตรฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพื่อแปลงเอกสาร XML
เมื่อใช้พีเอชพีในการทำอีคอมเมิร์ซ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรมทำธุรกรรมทางการเงิน

การรองรับพีเอชพี

คำสั่งของพีเอชพี สามารถสร้างผ่านทางโปรแกรมแก้ไขข้อความทั่วไป เช่น โน้ตแพด หรือ vi ซึ่งทำให้การทำงานพีเอชพี สามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการหลักเกือบทั้งหมด โดยเมื่อเขียนคำสั่งแล้วนำมาประมวลผล ApacheMicrosoft Internet Information Services (IIS) , Personal Web Server, Netscape และ iPlanet servers, Oreilly Website Pro server, Caudium, Xitami, OmniHTTPd, และอื่นๆ อีกมากมาย. สำหรับส่วนหลักของ PHP ยังมี Module ในการรองรับ CGI มาตรฐาน ซึ่ง PHP สามารถทำงานเป็นตัวประมวลผล CGI ด้วย และด้วย PHP, คุณมีอิสรภาพในการเลือก ระบบปฏิบัติการ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้สร้างโปรแกรมโครงสร้าง สร้างโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) หรือสร้างโปรแกรมที่รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน แม้ว่าความสามารถของคำสั่ง OOP มาตรฐานในเวอร์ชันนี้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ตัวไลบรารีทั้งหลายของโปรแกรม และตัวโปรแกรมประยุกต์ (รวมถึง PEAR library) ได้ถูกเขียนขึ้นโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบ OOP เท่านั้น ซึ่งฐานข้อมูลส่วนหนึ่งที่รองรับได้แก่ ออราเคิล dBase PostgreSQL IBM DB2 MySQL Informix ODBC โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบ DBX ซึ่งทำให้พีเอชพีใช้กับฐานข้อมูลอะไรก็ได้ที่รองรับรูปแบบนี้ และ PHP ยังรองรับ ODBC(Open Database Connection) ซึ่งเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่ใช้กันแพร่หลายอีกด้วย คุณสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ที่รองรับมาตรฐานโลกนี้ได้
พีเอชพียังสามารถรองรับการสื่อสารกับการบริการในโพรโทคอลต่างๆ เช่น LDAP IMAP SNMP NNTP POP3 HTTP COM (บนวินโดวส์) และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสามารถเปิด Socket บนเครื่อข่ายโดยตรง และ ตอบโต้โดยใช้ โพรโทคอลใดๆ ก็ได้ PHP มีการรองรับสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ WDDX Complex กับ Web Programming อื่นๆ ทั่วไปได้ พูดถึงในส่วน Interconnection, พีเอชพีมีการรองรับสำหรับ Java objects ให้เปลี่ยนมันเป็น PHP Object แล้วใช้งาน คุณยังสามารถใช้รูปแบบ CORBA เพื่อเข้าสู่ Remote Object ได้เช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

PHP คืออะไร

หลายคนที่ทำเว็บไซต์ด้วย HTML หรือโปรแกรมช่วยสร้างเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Dreamweaver แล้วอาจสงสัยว่าเมื่อทำ form สำหรับ รับค่าเช่น ชื่อ ที่อยู่ เสร็จแล้วจะเก็บค่ายังไง หรือจะทำอย่างไรต่อ หรือเว็บบอร์ดทำงานอย่างไร CMS ทำงานอย่างไร ทำไมบางเว็บไซต์สามารถโต้ตอบกับ ผู้ใช้งานได้ คำตอบของทุกคำถามคือ PHP ครับ

PHP นั้นเป็นภาษาสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลากหลายโปรแกรมเช่นเดียวกับภาษาทั่วไป อาจมีข้อสงสัยว่า ต่างจาก HTML อย่างไร คำตอบคือ HTML นั้นเป็นภาษาที่ใช้ในการจัดรูปแบบของเว็บไซต์ จัดตำแหน่งรูป จัดรูปแบบตัวอักษร หรือใส่สีสันให้กับ เว็บไซต์ของเรา แต่ PHP นั้นเป็นส่วนที่ใช้ในการคำนวน ประมวลผล เก็บค่า และทำตามคำสั่งต่างๆ อย่างเช่น รับค่าจากแบบ form ที่เราทำ รับค่าจากช่องคำตอบของเว็บบอร์ดและเก็บไว้เพื่อนำมาแสดงผลต่อไป แม้แต่กระทั่งใช้ในการเขียน CMS ยอดนิยมเช่น Drupal , Joomla พูดง่ายๆคือเว็บไซต์จะโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ต้องมีภาษา PHP ส่วน HTML หรือ Javascript ใช้เป็นเพียงแค่ตัวควบคุมการแสดงผลเท่านั้น

นอกจากภาษา PHP แล้วยังมีภาษาอื่นอีกหรือไม่
คำตอบคือมีครับ เช่น ASP , JSP แต่ที่นิยมมาก คือ PHP เพราะเป็นภาษาที่สามารถศึกษาได้ง่าย ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน รวมทั้งมีชุมชนคนใช้งาน และคู่มือที่ ดีมาก และสำคัญสุดคือฟรีครับ การใช้งานภาษา PHP ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

การจะเขียน PHP ต้องมีอะไรบ้าง
อย่างที่บอกไปว่า PHP นั้นจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลดังนั้นการใช้งานเราจะต้องมี Web Server เพื่อให้ตัว PHP สามารถทำงานได้ ต่างจาก HTML งั้นจะทำอย่างไรถ้าเราไม่ได้เช่า Web Server เอาไว้จะใช้งาน PHP ไม่ได้หรือ คำตอบคือได้ครับ แต่เราจะต้องลงโปรแกรม ให้เครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้นทำงานเหมือนกับ Web Server ซะก่อนซึ่งโปรแกรมนั้นชื่อว่า Apache ครับเป็นโปรแกรมฟรีเหมือนกัน นี่เป็นข้อดี ที่ทำให้ทุกคนรัก PHP ครับ หลังจากที่เราทำให้เครื่องของเรานั้นเหมือนกับ Web Server แล้วจะเก็บข้อมูลเว็บไซต์เช่น คำตอบของเว็บบอร์ด จะเก็บอย่างไร คำตอบคือต้องมีโปรแกรมฐานข้อมูลอีกตัวเข้ามาช่วยครับ ซึ่งโปรแกรมที่แนะนำคือ MySQL ครับฟรีอีกเช่นกัน ทั้งหมดสำหรับมือใหม่อาจ จะเริ่มลงโปรแกรมทั้งหมดนั้นยากนะครับ จึงมีโปรแกรมที่รวมทุกอย่าง เพื่อจำลองเครื่องของเราให้เป็น Web Server เลยสามารถลงได้ง่ายๆ ซึ่ง จะมีสอนในบทต่อไปนะครับ

การพัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP
สำหรับผู้พัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP นั้นปรกติจะทำการจำลองเครื่องของตัวเองให้เป็น Web Server ระหว่างการพัฒนาเพื่อดูการทำงาน ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาครับ จากนั้นจึงจะอัพไฟล์ทั้งหมดลงใน Web Server จริงครับ ในส่วนของ Web Server นั้นทาง Hellomyweb ก็มีให้บริการอยู่นะครับ ถามว่าเราจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้นทำงานได้เหมือนกับ Web server จริงได้หรือไม่ คำตอบคือได้ครับ แต่มันออกจะไม่คุ่มค่า ทางการเงินนะครับ เพราะเราต้องเสียค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมก็ต้องเปิดไว้ตลอดปิดไม่ได้ เวลาผู้ใช้งานจากภายนอกมาเรียกใช้ก็รองรับไม่ได้ไม่มาก ดังนั้นการเช่า Web Server ภายนอกจะคุ่มค่ามากกว่าครับ หากต้องการจะพัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้งานจริงๆ

สำหรับคนที่มีข้อสงสัยหรือมีคำถามสามารถตั้งคำถามได้ที่ webboard ของ Hellomyweb นะครับ ทางเรายินดีตอบทุกคำถามครับ สำหรับบทต่อไปจะพูดถึงโปรแกรมที่ทำการจำลองเว็บไซต์ของเราให้เป็น Web Server ครับ